หน่วยงานในสังกัดสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
ครั้งสมัยพระบรมไตรโลกนาภ ได้กำหนดให้ “ตำรวจ” ยึดการปกครองแบบเวียง วัง คลัง นา หรือเรียกว่า การปกครองบ้านเมืองแบบ “จตุสดมภ์” โดยให้ตำรวจขึ้นอยู่กับส่วนงาน 2 ส่วนนั่นได้แก่ ตำรวจภูบาลและตำรวจภูธร และยังมี “ตำรวจหลวง” โดยส่วนนี้จะปฏิบัติหน้าที่ในวัง ซึ่งก็ได้ถือปฏิบัติใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยก็มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตามวันและเวลา กว่าจะมาเป็นส่วนงานสังกัดป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม พี่บัสจะสรุปให้ฟังครับ
ประวัติความเป็นมาของสังกัดส่วนป้องกันและปราบปราบอาชญากรรม
- พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์” (ชาวอังกฤษ) ให้เป็นผู้ตั้งกองตำรวจในพระนคร โดยยึดถือรูปแบบโครงสร้างของตำรวจอังกฤษ
- พ.ศ 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณากิจการตำรวจ โปรดเกล้าฯ ให้
- พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรง ราชานุภาพ รับตำแหน่ง “เสนาบดีว่าการกรมมหาดไทย” (กรมมหาดไทย ควบคุมและดูแลตำรวจภูธร)
- พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ รับตำแหน่ง “เสนาบดีว่าการกรมพระนครบาล” (กรมพระนครบาล ควบคุมและดูแลตำรวจนครบาล (พลตระเวน))
- พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศรวมตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร ให้เป็นกรมเดียวกัน และแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจและกรมพลตระเวน
- พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ “พระยาอธิกรณ์ประกาศ” (หลุย จาติกวณิช) ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล”
- พ.ศ. 2475 ด้วยวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงได้ยุบ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้เป็น กองบังคับการ
- พ.ศ. 2491 จัดตั้ง “กองบัญชาการตำรวจนครบาล” อีกครั้ง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ ในกระทรวงมหาดไทย (24 สิงหาคม 2481)
- พ.ศ. 2504 สถานที่ปฏิบัติงาน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ณ สะพานผ่านฟ้า
- พ.ศ. 2516 กองบัญชาการตำรวจนครบาล สะพานผ่านฟ้า โดนเผา จึงต้องย้ายไปที่กองบังคับการตำรวจดับเพลิงพญาไท
- พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทำพิธีเปิดอาคารทำการแห่งใหม่ ถนนศรีอยุธยา ดุสิต กรุงเทพมหานคร จบจนปัจจุบัน
และนอกจากนี้ การทำงานของข้าราชการตำรวจก็ได้ขยายออกไปเพื่อเพิ่มการปกครองยังพื้นที่ต่างจังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศดังนี้
ส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กรุงเทพมหานคร
ตำรวจภูธร ภาค 1 (ภ.1) ภาคกลาง
ครอบคลุมพื้นที่ : พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ
ตำรวจภูธร ภาค 2 (ภ.2) ภาคตะวันออก
ครอบคลุมพื้นที่ : จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
ตำรวจภูธร ภาค 3 (ภ.3) ภาคอีสาน (ตอนล่าง)
ครอบคลุมพื้นที่ : ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
ตำรวจภูธร ภาค 4 (ภ.4) ภาคอีสาน (ตอนบน)
ครอบคลุมพื้นที่ : กาฬสินธ ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี เลย
ตำรวจภูธร ภาค 5 (ภ.5) ภาคเหนือ (ตอนบน)
ครอบคลุมพื้นที่ : น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน
ตำรวจภูธร ภาค 6 (ภ.6) ภาคเหนือ (ตอนล่าง)
ครอบคลุมพื้นที่ : กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลภ สุโขทัย อุตรดิตถ อุทัยธานี เพชรบูรณ์
ตำรวจภูธร ภาค 7 (ภ.7) ภาคตะวันตก
ครอบคลุมพื้นที่ : กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี เพชรบุรี
ตำรวจภูธร ภาค 8 (ภ.8) ภาคใต้ (ตอนบน)
ครอบคลุมพื้นที่ : กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎ์ธานี
ตำรวจภูธร ภาค 9 (ภ.9) ตอนใต้ (ตอนล่าง)
ครอบคลุมพื้นที่ : ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นตำรวจ อยากสอบนายสิบตำรวจ หญิง รวมทั้งน้องที่เตรียมตัวติวสอบนายสิบตำรวจนั้น พี่บัสบอกเลยว่า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจและรู้ว่าแต่ละส่วนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรในแต่ละพื้นที่นั้นมีการดูแลครอบคลุมจังหวัดอะไรบ้าง
การสอบตำรวจนั้นแนวข้อสอบไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะครับ ยังมีข้อมูลอีกมากมายเลย กดติดตามรับข่าวสารจากพี่บัสเอาไว้ให้ดี ในทุกช่องทางเพื่อจะได้ไม่พลาดทุกข่าวสารเรื่องติวสอบนายตำรวจครับผม
หากสนใจคอร์สติวหวังผล
ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!