สอบ ก.พ. เพื่ออะไร ทำอาชีพอะไรได้บ้าง ?
การสอบ ก.พ. เป็นการสอบที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าที่จริงแล้วการสอบ ก.พ. คืออะไรกันแน่ แล้วก็อาจจะเกิดความสงสัยทำไมการสอบนี้ถึงมีการแข่งขันสูง และคนเลือกที่จะไปสอบกันเยอะในทุกปี แล้วการสอบ กพ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
หรือแม้แต่ใครที่เกิดสนใจอยากสอบ กพ แต่ยังไม่รู้รายละเอียดของการสอบ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติต่าง ๆ วุฒิการศึกษา รวมถึงรายละเอียดของข้อสอบ ก.พ. บทความนี้จะช่วยทุกคนไขข้อข้องใจเหล่านี้ด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นจะต้องรู้ นอกจากนี้ยังมีทริคดี ๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ ก.พ. และยังมีคำถามที่พบบ่อยมาฝากอีกด้วย
สอบ ก.พ. คืออะไร
การสอบ ก.พ. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.พ. (OCSC) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน มีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี รวมถึงร่วมพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
การสอบ ก.พ. คืออะไร?
การสอบ ก.พ. จึงเป็นการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน ที่มีความสนใจอาชีพราชการให้เข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ การสอบ กพ จึงเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการทำงานราชการกับหน่วยงานราชการที่ขาดแคลนคนนั่นเอง
ปัจจุบันการสอบ กพ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การสอบ กพ ภาค ก, ภาค ข และภาค ค โดยในปี 2563 มีผู้ที่เข้าสอบ กพ ทั้งสิ้น 500,000 คน นับเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่กลับมีอัตราการสอบผ่านเพียง 2.72% หรือคิดเป็น 13,604 คนเท่านั้น
สอบ ก.พ. ทํางานอะไรได้บ้าง
หลังจากได้รู้เบื้องต้นว่าการสอบ ก.พ. คืออะไร หลาย ๆ คนก็คงจะมีคำถามต่อมาอีกว่า มีการสอบ กพ เพื่ออะไร, การสอบนี้สามารถใช้ต่อยอดทำอะไรได้ และสอบ กพ ทำงานอะไรได้บ้าง โดยทั่วไปการสอบ กพ จะสามารถนำไปใช้ในการทำงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น
– นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
– นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
– นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
– พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
– เภสัชกรปฏิบัติการ
– นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
– นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
– นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
คุณสมบัติและอายุของผู้เข้าสอบ ก.พ.
การสอบ กพ คุณสมบัติและอายุนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบก่อนที่จะทำการสมัครสอบ โดยการสอบ ก.พ. นั้นมีคุณสมบัติและอายุ ดังนี้
– มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (ไม่กำหนดอายุสูงสุด)
– มีสัญชาติไทย
– ต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท
– ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
สอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรในการสมัคร
โดยทั่วไปการสอบ ก.พ. จะแบ่งระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบออกเป็น 4 ระดับ นอกจากนี้การสอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรบ้าง รวมถึงความแตกต่างของแต่ละระดับเป็นอย่างไร เราจะพาไปทำความเข้าใจกัน
1. ระดับ 1 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2. ระดับ 2 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3. ระดับ 3 คือระดับปริญญาตรี เป็นระดับที่มีคนสอบมากที่สุด
4. ระดับ 4 คือระดับปริญญาโท
การสอบ ก.พ. ที่แบ่งตามวุฒิการศึกษาจะมีความแตกต่างกันในการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) โดยการสอบภาค ก. จะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่
- วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ผู้สอบที่มีระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หรือ 60 คะแนน และผู้สอบที่มีระดับปริญญาโทต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หรือ 65 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ผู้สอบในทุกระดับชั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือ 25 คะแนน
- วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ผู้สอบทุกระดับชั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หรือ 30 คะแนน
การสอบ ก.พ. มีทั้งหมดกี่ภาค สอบอะไรบ้าง
ภาค ก. การสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไป
การสอบภาค ก. เป็นการสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปที่มีการจัดสอบเป็นประจำในทุกปี นับเป็นด่านแรกที่ต้องสอบให้ผ่านจึงจะไปสอบขั้นต่อไปได้ ภาค ก. จะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่
- วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์
มีเนื้อที่คลอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา, การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยจะเป็นข้อสอบจำนวน 50 ข้อ 100 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ
เป็นวิชาที่วัดทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น โดยจะแยกเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ การพูด การเขียน การอ่าน และการฟังภาษาอังกฤษ ข้อสอบจำนวน 25 ข้อ 50 คะแนน
- วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ข้อสอบจำนวน 25 ข้อ 50 คะแนน
โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
– ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
– หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
– หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
ภาค ข. การสอบวัดความรู้ ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
การสมัครสอบก.พ. ภาค ข. ผู้สมัครสอบจะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. มายืนยันก่อนจึงจะสามารถสมัครได้ การสอบในภาค ข. เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ผู้จัดสอบ กพ ในภาคนี้จะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร
การสอบภาค ข. จะมีการเปิดสอบสำหรับหลายตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้สมัคร ได้แก่ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ นิติกร และเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น
ภาค ค. การสอบสัมภาษณ์
เมื่อผู้เข้าสอบได้สอบผ่านทั้งภาค ก. และภาค ข. แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกข้าราชการคือการสอบสัมภาษณ์ โดยจะมีผู้สัมภาษณ์หน่วยงานต้นสังกัดนั้น ๆ มาร่วมทำการทดสอบ นอกจากนี้อาจมีการทดสอบเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบร่างกาย หรือทดสอบจิตวิทยา
การสอบ ก.พ. แบบ E-exam คืออะไร
การสอบ ก.พ. แบบ E-exam หรือการสอบ กพ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสอบด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจะเปิดรับสมัครคนละรอบกับ paper and pencil และจะทำการจัดสอบเฉพาะระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเท่านั้น
ซึ่งแตกต่างจากการสอบแบบ paper and pencil ที่เป็นการสอบแบบปกติด้วยการฝนกระดาษคำตอบ สำหรับผู้สนใจทั่วไป การสอบรูปแบบนี้ยังมีศูนย์สอบทั้งสิ้น 500,000 ที่นั่ง จาก 15 จังหวัดทั่วประเทศไทย หากผู้สมัครสอบ กพ ได้ทำการสอบแบบ E-exam ไปแล้วก็สามารถลงสอบแบบ paper and pencil ได้อีกครั้งในปีเดียวกัน
ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ.
การสอบ ก.พ. จะมีขั้นตอนการสมัครสอบ ดังนี้
1. สมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th ไปที่หัวข้อ “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2564” จากนั้นคลิก “สมัครสอบ”
2. กรอกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ
3. เลือกรอบสอบและศูนย์สอบที่สะดวกในการสอบ กพ
4. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ 330 บาท ภายในวันที่กำหนด
5. หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน จึงเข้าตรวจสอบเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th หากยังไม่มีรูปถ่ายของผู้สมัคร จะต้องอัพโหลดรูปก่อน (รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว)
6. พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อยเพื่อนำไปในวันสอบ กพ
สอบ ก.พ. วันไหน ?
โดยปกติการสอบ กพ จะประกาศรับสมัครสอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี และมีการจัดสอบช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และประกาศผลช่วงเดือนกันยายน สำหรับการสอบ กพ 64 วันไหนนั้น จากข้อมูลล่าสุดจะจัดสอบวันที่ 8 และ 29 พฤษภาคม 2565
วิธีเตรียมตัวก่อนสอบ ก.พ.
สำหรับการเตรียมตัวสอบ กพ 65 นั้น การสอบ กพ ยังไงให้ผ่านเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับหลาย ๆ คน วันนี้เราจะมาบอกเทคนิคว่าสอบ กพ อ่านอะไรบ้างให้ผ่านฉลุย ดังนี้
ศึกษาข้อรายละเอียดข้อสอบ
เพื่อให้ทราบเนื้อหาของข้อสอบ และจำนวนข้ออย่างชัดเจน ทำให้อ่านเนื้อหาสำคัญได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการอ่านได้ และเหลือเวลาไปใช้ในการทบทวนส่วนอื่นแทนได้
ฝึกทำข้อสอบเก่า
ข้อสอบเก่าจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับข้อสอบ เมื่อลงสนามจริงจะได้ไม่ตื่นเต้น นอกจากนี้ยังเป็นการบอกแนวข้อสอบที่สำคัญได้อีกด้วย
จับเวลาทุกครั้งเมื่อทำข้อสอบ
การจับเวลาจะช่วยให้สามารถจัดการกับเวลาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการทำข้อสอบไม่ทันได้
ลงเรียนคอร์สติวสอบ ก.พ. ออนไลน์
ในปัจจุบันการลงคอร์สติวสอบ กพ ออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการจัดเตรียมเนื้อหาที่ต้องใช้ในการสอบอย่างครบถ้วน มีการเน้นเนื้อหาที่สำคัญ พร้อมแจ้งรายละเอียดการสอบที่สำคัญ นอกจากนี้การเรียนในรูปแบบออนไลน์ยังสะดวกสบาย และเหมาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
คำถามที่พบบ่อยเรื่องการสอบ ก.พ.
สอบ ก.พ. ใช้เวลากี่ชั่วโมง?
การสอบ ก.พ. ใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการทำข้อสอบ เฉลี่ยข้อละ 1.8 นาที
สอบ ก.พ. ได้ถึงอายุเท่าไหร่?
การสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดอายุ
สอบ ก.พ. ใส่ชุดอะไร?
แต่งกายด้วยชุดที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์ และสามารถใส่รองเท้าผ้าใบได้
สอบ ก.พ. ได้กี่ครั้ง? ผลคะแนนมีอายุกี่ปี?
การสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดจำนวน สามารถสมัครได้ทุกปี และผลสอบไม่มีวันหมดอายุ
ข้อสรุปเรื่องการสอบ ก.พ.
การสอบ ก.พ. เป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบหนึ่งเพื่อเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ การสอบ กพ นับเป็นการสอบที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจึงมีการแข่งขันที่สูง เนื่องจากสามารถใช้ในการสมัครงานราชการได้หลากหลายหน่วยงาน
การสอบ ก.พ. จะเป็นการสอบเพื่อวัดความรู้และความสามารถในระดับต่าง ๆ ข้อสอบจะไม่ได้ยากจนเกินไปแต่จะต้องใช้ความรอบคอบ และจะต้องจัดการเวลาให้ดี การสอบ กพ ให้ผ่านจะต้องใช้ความมุ่งมั่นและการฝึกฝน แต่ถ้าหากต้องการตัวช่วยการลงเรียนคอร์สติวสอบ กพ ออนไลน์ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน
หากสนใจคอร์สติวหวังผล
ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!