เตรียมตัวสอบ ก.พ. อย่างไร ให้สอบผ่านในครั้งเดียว
เตรียมตัวสอบ ก.พ. อย่างไร ให้สอบผ่านในรอบเดียว วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคการเตรียมตัวสอบ ก.พ. แบบง่ายๆ สำหรับหลายๆ คนที่กำลังเตรียมตัวสอบ ก.พ. ก็คงมีความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงมากและสวัสดิการดีอีกต่างหาก
แต่ก่อนที่จะได้เข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการ คุณจะต้องฝ่าฝันเส้นทางด่านแรกอย่างการ เตรียมสอบ ก.พ. ภาค ก. ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปโดยประกอบไปด้วย วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เราได้รวมทริคในการเตรียมตัวสอบแบบง่ายๆ แต่ได้ผล ซึ่งก่อนอื่นเลยคุณจะต้องรู้ก่อนว่าการเตรียมตัวสอบ ก.พ. เนี่ย สำคัญอย่างไรกับตนเองบ้าง พร้อมแล้วก็มารับชมกันเลย
การเตรียมตัวก่อนสอบ ก.พ. สำคัญอย่างไร
ถ้าหากถามว่าทำไมจึงต้องมีการเตรียมตัวสอบ ภาค ก ต้องบอกก่อนเลยว่าจากการติดตามผลการสอบ ในแต่ละปีมานั้น คนสอบผ่านกันน้อยมาก เพราะแต่ละปีมีคนสอบผ่านไม่เกิน 6% ของจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด นั่นหมายความหมายหากผู้เข้าสอบมีทั้งหมดแค่ 100 คน มีคนสอบผ่านไม่เกิน 6 คน
ดังนั้นการเตรียมตัวสอบ กพ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คุณจะต้องมีการเตรียมตัวสอบ ก.พ. และอ่านหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ให้ตรงจุด ตรงแนวข้อสอบ และสิ่งสำคัญคือจะต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในเวลาสอบได้
แนะนำคู่มือเตรียมตัวสอบ ก.พ. อย่างไรให้ปัง
1. ตั้งเป้าหมายในการสอบครั้งนี้
อันดับแรกเลยนั้นคือการตั้งเป้าหมายกับตนเองก่อนว่าเราอยากทำงานราชการในสังกัดไหน ตำแหน่งอะไร ตำแหน่งนั้นตอบโจทย์กับสิ่งที่เราคาดหวังเอาไว้หรือไม่ หากคิดว่าใช่ก็ตั้งเป้าหมายนี้ไว้ให้เป็นเป้าหมายสูงสุด และลุยเตรียมตัวสอบ ก.พ.กันได้เลย
2. ทำความเข้าใจโครงสร้างข้อสอบ
ข้อดีของการสอบ ก.พ. คือขอบเขตเนื้อหาจะชัดเจน ทำให้เราสามารถเตรียมตัวสอบ ก.พ. ได้ง่ายและอ่านคู่มือเตรียมสอบ ก.พ. ได้อย่างตรงจุด แต่ก่อนอื่นเลยเราจะต้องมาทำความเข้าใจโครงสร้างของข้อสอบ ก.พ. ภาค ก กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง
การสอบ ก.พ. ภาค ก นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่
1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คณิตศาสตร์และภาษาไทย)
– จำนวนข้อสอบ 50 ข้อ ทั้งหมด 100 คะแนน
– เนื้อหาในข้อสอบจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา (ภาษาไทย) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม (คณิตศาสตร์) และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ (คณิตศาสตร์)
– เกณฑ์การผ่านคะแนนมีดังนี้ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ต้องได้คะแนน 60% ขึ้นไป (60 คะแนน) และปริญญาโท ต้องได้คะแนน 65% ขึ้นไป (65 คะแนน)
2. วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ
– จำนวนข้อสอบ 25 ข้อ คิด 50 คะแนน
– เนื้อหาในข้อสอบจะแบ่งเป็น 4 พาร์ท คือ Grammar, Conversation, Vocabulary, Reading ในระดับเบื้องต้น ระดับศัพท์พื้นฐานทั่วไป
– เกณฑ์การผ่านคะแนน มีดังนี้ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท (ทุกระดับชั้น) ต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป (25 คะแนน)
3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (วิชากฏหมาย)
– มีจำนวนข้อสอบ 25 ข้อ คิดเป็น 50 คะแนน
– เนื้อหาในข้อสอบ : จะ ประกอบด้วยเนื้อหากฎหมาย 6 เรื่อง ได้แก่
1. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อหน้าที่ราชการ
2. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
3. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และแก้ไขเพิ่มเติม
4. พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
5. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
6. พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
– เกณฑ์การผ่านคะแนนมีดังนี้ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท (ทุกระดับชั้น) ต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป (25คะแนน)
3. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ ก.พ.
ในการเตรียมตัวสอบ ก.พ. นั้นเราจะต้องรู้ก่อนเลยว่าเราสอบ ก.พ. ไปเพื่ออะไร การสอบ ก.พ. เนี่ยเป็นการคัดคนเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการ ถ้าหากว่าอยากบรรจุเป็นข้าราชการให้ได้ ก็ต้องสอบ ก.พ. ให้ผ่านทั้ง 3 ภาค ได้แก่
1. การสอบ ก.พ. ภาค ก ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป
2. การสอบ ก.พ. ภาค ข เป็นการสอบวัดความสามารถเฉพาะตำแหน่งยของหน่วยงานนั้นๆ
3. การสอบ ก.พ. ภาค ค ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสอบสัมภาษณ์ หรืออาจมีการทดสอบจิตวิทยา
4. อ่านหนังสือสอบ ก.พ.
การทบทวนเนื้อหาต่างๆ ที่จะออกสอบนั้นเราสามารถหาซื้อหนังได้ตามร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วไป ซึ่งจะอยู่ในหมวดของหนังสือสอบ ก.พ., หนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ภาค ก,คู่มือเตรียมสอบ ก.พ. และถ้าคุณอยากหาหนังสือสำหรับสอบก.พ. ในภาคอื่นๆ ก็อาจจะเจอหนังสืออย่างคู่มือเตรียมสอบ ก.พ. ระดับ 3 อีกด้วย หนังสือเหล่านี้จะรวบรวมเทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ก.พ. ไว้ บางเล่มอาจมีเคล็ดลับเล็กๆ เพื่อให้การทำข้อสอบนั้นรวดเร็วมากขึ้น
5. วิเคราะห์จุดอ่อน – จุดแข็งของตัวเอง
สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างเลยการรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองเพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้การสอบผ่านได้ได้ด้วยดีที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเรารู้ตัวว่าเราอ่อนด้านภาษาอังกฤษ ก็ต้องหมั่นทบทวนเนื้อหา และท่องคำศัพท์ให้มากขึ้น หรือรู้ตัวว่าคิดเลขได้ค่อนข้างช้าก็ต้องหมั่นตะลุยโจทย์คณิตให้มากเข้าไว้ และที่สำคัญเลยคือเมื่อเรารู้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเองเราสามารถแบ่งเวลาในการทำข้อสอบเพื่อให้เสร็จทันเวลาได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเตรียมสอบ ภาค ก ได้อย่างมั่นใจมากขึ้นแล้ว
6. เรียนคอร์สติวสอบ ก.พ. ออนไลน์
สำหรับบางคนการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ก.พ. ด้วยตนเองนั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่แต่ไม่เป็นไร เราขอแนะนำให้คุณลงเรียนคอร์สติวสอบ ก.พ. ออนไลน์ กับ Guru Academy ซึ่งการติวสอบ ก.พ. ออนไลน์นั้นจะได้เรียนเนื้อหาแบบที่เรียกว่าสั้น กระชับ ตรงจุด อีกทั้งยังได้ซ้อมทำข้อสอบจริง จับเวลาจริงอีกด้วย เพื่อวัดความพร้อมของตนเอง ข้อดีของสมัครเรียนคอร์สนี้คือสมัครเรียนครั้งเดียว แต่สามารถเรียนได้ไม่มีวันหมดอายุ และมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าคุ้มค่าสุดๆ
7. แบ่งเวลาทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา
เชื่อว่าหลายๆคนผ่านการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ครั้งแรก เวลาผ่านไปเพียงไม่นานอาจมีการหลงๆลืมกันได้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นกันเกือบคุณแน่ๆ ดังนั้นเราควรจด shot note, สูตร, หลักไวยากรณ์ ที่แค่เพียงเราอ่านแล้วก็สามารถนึกออกได้ จะช่วยทำให้เราทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และสิ่งสำคัญอีกอย่างเลยคือเราควรทำตารางอ่านหนังสือเตรียมสอบเอาไว้เพื่อแบ่งเวลาทบทวนเนื้อหาทั้งหมด
8. ติดตามประกาศของสำนักงาน ก.พ. อยู่เสมอ
เนื่องจากทาง สำนักงาน ก.พ. จะมีการอัปเดตในเรื่องของวันสมัตรสอบ / วันสอบ / วันอัปโหลดรูป อยู่เสมอๆ อย่างการเตรียมสอบ ก.พ. 64 เนื่องจากในปีนั้นสถานการณ์โควิดอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นน้องๆ ต้องหมั่นติดตามประกาศของ สำนักงาน ก.พ. ไว้อย่างสม่ำเสมอ
9. ตะลุยโจทย์ ฝึกจับเวลาทำข้อสอบเก่า
การตะลุยโจทย์ และฝึกจับเวลาการทำข้อสอบเก่า เป็นสิ่งที่สำคัญมาก! และห้ามพลาดเลยทีเดียว ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีว่า ข้อสอบ ก.พ. นั้นจะออกเนื้อหาในขอบเขตเดิมๆ จะมีปรับเปลี่ยนในส่วนรายละเอียดของโจทย์และตัวเลือกบ้างเล็กน้อย ดังนั้นการตะลุยโจทย์เก่าๆของข้อสอบ ก็จะช่วยฝึกฝนให้เราคุ้นเคยกับเนื้อหาและยังช่วยให้ฝึกทำข้อสอบได้ทันเวลาที่กำหนดด้วย
10. เตรียมตัวก่อนลงสนามจริง
หากสามารถทำครบได้ทั้ง 9 ข้อด้านบน เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีความมั่นใจในการทำข้อสอบมากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นในวันสอบจริง จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งเรื่องของบัตรสอบ และอุปกรณ์การทำข้อสอบ รวมไปถึงเส้นทางการเดินทางไปยังสนามสอบ สิ่งเหล่านี้จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสนามจริง จะได้ไม่พลาด
ควรเตรียมตัวสอบ ก.พ. ล่วงหน้า กี่เดือน
เป็นคำถามที่หลายๆคนชอบถามบ่อยๆว่า ควรเตรียมตัวสอบ ก.พ. กี่เดือน ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันบางคนอื่นได้เร็ว บางคนอ่านได้ช้า คำตอบที่ดีที่สุดคงเป็นประมาณซัก 3 เดือนก่อนสอบ อย่างช้าที่สุด เพราะเนื้อหานั้นไม่ใช่น้อยๆเลย
ในระยะเวลา 3 เดือนนั้น เราอาจจะแพลนตารางการเตรียมตัวสอบ ก.พ. เอาไว้ และอย่าลืมหมั่นฝึกทบทวนตะลุยโจทย์เก่าๆ จะยกตัวอย่างแพลนการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ให้ชม
1. เริ่มอ่านทีละวิชา แล้วสรุปทำความเข้าใจให้ได้ทีละวิขาไป ไม่แนะนำให้อ่านสลับวิชาเพราะจะสับสน
2. อ่านเนื้อหาให้จบใน 1-2 เดือนแรก สำหรับการเตรียมสอบ ภาค ก ให้ครบก่อน เพื่อจะได้มีเวลาฝึกข้อสอบเก่า
3. ควรแบ่งอ่านวันละ 3-4 ชม. ไม่จำเป็นจะต้องอ่านแบบยิงยาวเกินไป แบ่งเวลาสัก 2 ชม. แล้วไปพักค่อยกลับมาอ่านใหม่ก็ได้ หากท้อให้นึกถึงคู่แข่งอีกหลายๆคนเข้าไว้ เพื่อที่เราจะได้ฮึดสู้และจะได้ไม่มานั่งเสียใจภายหลัง เพราะเราทำเต็มที่ที่สุดแล้ว
ข้อสรุป
จากการที่ได้บอกมาทั้งหมดแล้ว เราเชื่อว่าหลายคนที่นำเทคนิคในการเตรียมตัวสอบ ก.พ. อย่างไรให้ผ่านในครั้งเดียวไปประยุกต์ใช้ จะสามารถสอบผ่านได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตนเองด้วยว่าเราทำเต็มที่แล้วหรือไม่ ในระหว่างการเตรียมตัวสอบ ก.พ. นั้น ถึงแม้ว่าเป้าหมายสูงสุดของเราคือการสอบก.พ. ให้ผ่าน แต่อย่าลืมว่าระหว่างทางนั้นก็ควรแค่แก่การทุ่มเทเช่นเดียวกัน ขอให้ทุกคนทำอย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง
หากสนใจคอร์สติวหวังผล
ติวสอบตำรวจคอร์สติวหวังผลปี 2564 คลิก !!!